การแปลความ

การแปลความ   เป็นการวัดความสามารถในการแปลความหมายของสิ่งต่างๆ  เช่น แปลความหมายของคำ  ข้อความหรือภาพ ตามเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้อง  แต่ไม่ใช่แปลคำนั้นตรงๆ ตามคำแปลในพจนานุกรม  แต่จะต้องแปลออกมาเป็นภาษาใหม่ให้ถูกต้อง  แต่ต้องคงความจริง  ความถูกต้อง  ตามเรื่องเดิมไว้  วิธีเขียนคำถามการแปลความอาจเขียนในรูปของคำถาม  ดังต่อไปนี้
-ถามให้แปลความหมายของคำ  ภาพ  สูตร  กฏ  กราฟ  หรือสัญลักษณ์
-ถามให้แปลความหมายของกลุ่มคำ  ประโยค  หรือข้อความ
-ถามให้ยกตัวอย่างคำหรือข้อความนั้น
-ถามให้เปรียบเปรย  ยกเอาคำสุภาษิตเป็นเชิงเปรียบเทียบ
-ถามให้แปลความหมายพฤติกรรมต่างๆ
-ถามให้แปลถอดจากความจากคำประพันธ์เป็นร้อยแก้ว  หรือแบบความเรียง
-แปลถอดความจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่ง
ตัวอย่าง
1.คำใดที่แสดงถึงความสงสาร
   1.โธ่เอ๋ย !
   2.อุ๊ยตาย !
   3.ต๊ายตาย !
   4.ตายแล้ว !
   5.ว๊ายตาย !
2.เขาเคยเป็นเสือแต่ตอนนี้ถอดเขี้ยวเล็บแล้ว คำว่า เสือหมายถึงอะไร
   1.คนดุ
   2.คนเก่ง
   3.คนกล้า
   4.คนรวย
   5.คนฉลาด
3.ข้อความใดหมายถึงไปเพียงคนเดียว
   1.เธอไปกับฉัน
   2.เธอและฉันไป
   3.เธอหรือฉันไป
   4.ฉันตามเธอไป
   5.เธอชวนฉันไป
4.ข้อใดเป็นประโยค
   1.กระติกน้ำใบใหญ่
   2.นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
   3.ชาวบ้านบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
   4.ผู้ชายไทยรูปร่างสูงใหญ่
   5.ปีนี้ข้าวในยุ้งหลังบ้านเหลือมาก
5.ข้อใดมีความหมายในแง่ดี
   1.สาวไส้ให้กากิน
   2.หน้าเนื้อใจเสือ
   3.คิดรวยทางลัด
   4.ผ้าขี้ริ้วห่อทอง

   5.มือถือสากปากถือศีล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเขียนข้อสอบวัดด้านการนำไปใช้ (Application)

การเขียนข้อสอบด้านการสังเคราะห์ (Synthesis)

การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน