ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
1.1 ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง สร้างคำถามได้ 2 แบบ คือ
1.1.1 คำถามเกี่ยวกับศัพท์และนิยาม ได้แก่การถามความหมายของคำหรอกลุ่มคำ ซึ่งต้องอาศัยความจำ ผู้เรียนวิชาภาษาไทยจะต้องจดจำความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย สามารถให้นิยาม หรือบอกความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้
รูปแบบการเขียนคำถามศัพท์และนิยาม
แบบที่ 1 ถามชื่อ เป็นการเขียนคำถามเพื่อถามชื่อของบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ชื่อหนังสือ บทความ ต่าง ๆ
ตัวอย่าง
1. “สยามมานุสติ” เป็นชื่อของอะไร
1. หนังสือ 2. ประเทศ 3.คำโคลง 4. กษัตริย์ 5. ชื่อเพลง
3. จดหมายที่ไม่มีชื่อผู้ส่งเรียกว่าอะไร
1. บัตรเชิญ 2. ส.ค.ส. 3. นามบัตร 4. จดหมายราชการ 5. บัตรสนเทห์
4. แสตมป์ของจดหมายมีชื่อเรื่องที่ถูกต้องว่า
1. บัตรแสตมป์ 2. ไปรษณียบัตร 3. อากรแสตมป์ 4. ไปรษณียากร 5. แสตมป์ไปรษณี
5. เรื่อง “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารของชาติใด
1. ไทย 2. พม่า 3. มอญ 4. เขมร 5. ลาว
แบบที่ 2 ถามคำแปล เป็นการถามให้แปลศัพท์ คำราชาศัพท์ คำยาก ความสามารถแปลคำศัพท์ได้ถูกต้องจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนวิชาภาษาไทย การถามคำถามในขั้นนี้ เป็นการถามให้แปลความหมายคำศัพท์ต่างๆ ไม่ใช่แปลสำนวน
ตัวอย่าง
1. “สังเคราะห์” หมายถึงข้อใด
1. ดูแล 2. รักษา 3. จัดหา 4. อุดหนุน 5. เข้าร่วม
2. “เพิกเฉย” หมายถึงข้อใด
1. เลิก 2. ริเริ่ม 3. ละเลย 4. ทอดทิ้ง 5. ก่อกวน
3. “สมิงพระรามอามองอาจเข็มแข็ง ขี่ช้างและม้าก็สันทัดดีมีฝีมือนัก” คำว่า “สันทัด” มีความหมายตรงกับข้อใด
1. ถนัด 2. ชัดเจน 3. ว่องไว 4. กระฉับกระเฉง 5. ปานกลาง
4. “เท้า” ใช้ในราชาศัพท์ว่าอะไร
1. พระกร 2. พระบาท 3. พระอุระ 4.พระหัตถ์ 5.พระเศียร
5. คำราชาศัพท์ของคำว่า “หลาน” คือข้อใด
1.พระปิตุลา 2. พระนัดดา 3. พระสุณิสา 4. พระเชษฐา 5. พระมารดา
แบบที่ 3 ถามความหมาย เป็นการนำคำศัพท์และคำยากของวิชาภาษาไทยที่เราสามารถหาคำอื่นมาเปลี่ยนแทนคำเหล่านั้นได้โดยตรงการถามความหมายไม่เหมือนกับ การถามชื่อ และการถามคำแปล ถ้ายกศัพท์มาจะเป็นการถามชื่อ ถ้าถามว่าสามารถเปลี่ยนแทนสิ่งนั้นด้วยคำใดจะเป็นการถามแปล แต่ถ้าให้อธิบายจะเป็นการถามความหมาย เช่น การถามความหมายของคำเฉพาะ และนิยามต่างๆ ที่ใช้ในอักขรวิธีและฉันทลักษณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง
1. “สระลดรูป” หมายถึงอะไร
1. สระที่ผสมพยัญชนะแล้วยังมีรูปเดิม 2. สระที่ผสมพยัญชนะแล้วสระหายไป
3. สระที่ผสมพยัญชนะแล้วรูปสระเพิ่มขึ้น 4.สระที่ผสมพยัญชนะแล้วเปลี่ยนรูปเป็นอื่น
5. สระ 2 รูปที่ผสมพยัญชนะแล้วเหลือเพียงรูปเดียว
2. “คำราชาศัพท์” หมายถึงอะไร
1. คำที่ใช้เฉพาะพระสงฆ์ 2. คำสุภาพที่ใช้กับบุคคลทั่วไป
3. คำที่ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน 4. คำที่ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์
5. คำสุภาพที่ใช้เหมากับกาลเทศะ สังคม และฐานะของบุคคล
3. “สุภาษิต” หมายถึงอะไร
1. คำกล่าวเตือนสติ 2. คำกล่าวตบท้ายคำปราศรัย
3. คำกล่าวที่ดี คำพูดที่เป็นคติ 4. คำกล่าวอบรมสั่งสอนของผู้ใหญ่
5. คำกล่าวของพระพุทธศาสนาเพื่อสอนคน
4. “ไตรยางค์” หมายถึงอะไร
1. สระ 2. ประโยค 3. พยัญชนะ 4. วรรณยุกต์ 5. อักษรสามหมู่
แบบที่ 4 ถามตัวอย่าง เป็นการถามตัวอย่างของศัพท์นิยามที่สอนไปแล้ว เพื่อจะวัดดูว่าผู้เรียนสามารถจำสิ่งที่เคยยกตัวอย่างไปแล้วหรือไม่
ตัวอย่าง
1. อักษรใดเป็นอักษรกลาง
1. ป 2. ส 3. ผ 4. ข 5. ง
2. คำใดเป็นคำนาม
1. กิน 2. กา 3. สวม 4. สาน 5. แสร้ง
3. คำใดเป็นคำวิเศษณ์
1. มืด 2. แมลง 3. ดอกไม้ 4. เลี้ยง 5. ระเบียบ
4. คำใดเป็นคำราชาศัพท์
1. สุภาพ 2.พระราชา 3. พระเศียร 4. มหาราช 5. มหกรรม
5. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์
1. คะ 2. ค่ะ 3. คำ 4. ขา 5. นก
แบบที่ 5 ถามตรงข้าม เป็นการถามกลับของคำถามทั้ง 4 แบบที่กล่าวมาแล้ว เป็นการถามให้หาว่าคำใดแปลผิด เช่น ถามคำที่เขียนผิดในวิชาภาษาไทย คำถามชนิดนี้จะต้องระวังในการเขียนคำชี้แจงจะต้องบอกให้ผู้ตอบทราบถึงวิธีและวิธีตอบให้ชัดเจน
ตัวอย่าง
1. ข้อใดเขียนผิด
1. โอกาส 2. อากาศ 3. สมโภชน์ 4. สุนธร 5. วันเพ็ญ
2. คำใดเขียนผิด
1. นวลไย 2. เรือใบ 3. ตะไคร้ 4. หลงใหล 5. สงใส
3. “ผลัก” ตรงข้ามกับข้อใด
1. ฉุด 2. ปัด 3. เขิน 4. จูง 5. ลาก
4. ข้อใดไม่ใช่คำนาม
1. มา 2. แมว 3. มด 4. มอด 5. มัน
5. “ช้า” ตรงข้ามกับคำใด
1. ชุ่ย 2. แฉะ 3. เฉ 4. เร็ว 5. เชื่อง
1.1.2 คำถามเกี่ยวกับสูตร กฎ ความจริง ความสำคัญ เป็นการถามความรู้ คำจำ เกี่ยวกับ กฎ กลักการต่างๆ มีรูปแบบการถามได้ดังนี้
แบบที่ 1 ถามสูตร กฎ หลักการ ถามจากที่เคยเรียนมาแล้ว เช่น ในวิชาหลักภาไทย
ตัวอย่าง
1. สระใดมีเสียงพยัญชนะ ม. ผสมอยู่ด้วย
1. สระอำ 2. สระใอ 3. สระไอ 4. สระเอือ 5. สระเอา
2. สระเอีย เกิดจากการประสมระหว่างสระในข้อใด
1. อิ กับ อะ 2. อี กับ อา 3. อี กับ อะ 4. อี กับ เอ 5. อี กับ อะ
แบบที่ 2 ถามเนื้อเรื่อง เป็นการถามเรื่องราว และสิ่งสำคัญต่างๆที่ปรากฏในเนื้อหานั้นๆ เช่นวิชาวรรณคดีเป็นต้น และอย่าถามคำถามที่ผู้ตอบสามารถตอบได้โดยใช้สามัญสำนึก
ตัวอย่าง
1. จากเรื่อง “ราชาธิราช” สิ่งที่มีอิทธิพลในการทำสงครามมากที่สุดคือข้อใด
1. ฤกษ์ยาม 2. ทหารหาญ 3. แม่ทัพ 4. สติปัญญา 5. พาหนะ
2. พระร่วง มีนิสัยอย่างไร
1. เห็นแก่ตัว 2. โอบอ้อมอารี 3. ไร้คุณธรรม 4. ข่มเหงรังแกผู้อื่น 5. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
3. เล่าปี่ มีนิสัยอย่างไร
1.เมตตา 2. โกรธง่าย 3.ก้าวร้าว 4.กตัญญู 5.มีเล่ห์กล
4. สาเหตุที่ทำให้เล่าปี่แตกทัพเมื่อรบกับโจโฉคือข้อใด
1. ขาดอาวุธในการต่อสู้ 2. ทหารขาดเสบียงอาหาร
3. มีกำลังทหารน้อยกว่าโจโฉ 4. ทหารล้มตายเป็นจำนวนมาก
5. กังวัลต่อความปลอดภัยของประชาชน
แบบที่ 3 ถามขนาดจำนวน เป็นการถามปริมาณมากน้อยของสิ่งต่างๆ วิธีการถามอาจจะถามในลักษณะของการเปรียบเทียบ หรือถามจำนวนที่สำคัญที่นักเรียนความจะรู้
ตัวอย่าง
1. อักษรกลาง มีกี่ตัว
1. 6 2. 7 3. 8 4. 9 5. 10
2. เสียงวรรณยุกต์มีกี่เสียง
1. 4 2. 5 3. 6 4. 7 5. 8
3. คำใดมีเสียงวรรณยุกต์สูงที่สุด
1. ใส 2. ตี 3. แล 4. เว้น 5. ท่อ
4. คำใดออกเสียงสั้นที่สุด
1. นิ 2. สวย 3. เร็ว 4. กาง 5. ปลา
แบบที่ 4 ถามสถานที่ เป็นการถามตำแหน่งของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง
1. ในการแต่งนิราศเมืองแกลง ผู้ประพันธ์เดินทางจากที่ใดไปยังที่ใด
1. จันทบุรีไประยอง
2. นครสวรรค์ไประยอง
3. จากกรุงเทพไประยอง
4. อยุธยาไประยอง
5. ชลบุรีไประยอง
2. เรื่องขุนช้างขุนแผนเกิดขึ้นที่จังหวัดใด
1.ระยอง 2. จันทบุรี 3. สุโขทัย 4.สุพรรณบุรี 5. พระนครศรีอยุธยา
แบบที่ 5 ถามเวลา เป็นการถามเกี่ยวกับเวลาของเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ
1. ช่วงเวลาที่เกรซ ดาริ่ง แสดงวีรกรรม ความกล้าหาญ ตรงกับรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
1. รัชกาลที่1 2. รัชกาลที่ 2 3. รัชกาลที่3 4. รัชกาลที่4 5.รัชกาลที่5
2. สุนทรภู่ได้ชื่อว่าเป็นกวี 4 สมัยนั้น นับตั้งแต่สมัยใดถึงสมัยใด
1. ศรีวิชัยถึงทราราวดี 2.รัชกาลที่1-4
3. รัชกาลที่2-5 4. รัชกาลที่ 3-6
5. สุโขทัย-รัตนโกสินทร์
แบบที่ 6 ถามคุณสมบัติ เป็นการถามความสำคัญของเรื่องราวโดยเฉพาะคุณสมบัตรที่สำคัญที่เป็นจุดเด่นของเรื่องนั้น
ตัวอย่าง
1. ดินชนิดใดที่ไม่เหมาะกับการปลูกต้นตาลโตนด
1. ดินเหนียว 2. ดินร่วน 3.ดินทราย 4. ดินร่วนปนทราย 5. ดินเหนียวปนทราย
2. จังหวัดใดมีชื่อเสียงในการปลูกต้นตาลโตนด
1. ราชบุรี 2. เพชรบุรี 3. กาญจนบุรี 4. สุพรรณ 5.สมุทรสงคราม
แบบที่ 7 ถามวัตถุประสงค์ เป็นการถามถึงวัตถุประสงค์ของการกระทำและพฤติกรรมต่างๆว่าที่ประพฤติปฏิบัตินั้นมีความต้องการหรือมีจุดประสงค์อะไร
ตัวอย่าง
1.เหตุใดจึงนิยมติดแสตมป์ที่มุมขวาบนของจดหมาย
1.เพราะใช้มือขวาติด 2.เพราะแลดูสวยงาม
3.เพราะมีกรอบไว้ให้ติด 4.เพราะประทับตาได้สะดวก
5.เพราะเป็นระเบียบของไปรษณีย์
2. ผู้แต่งเรื่อง “แม่ศรีเรือน” มีวัตถุประสงค์ในการแต่งอย่างไร
1. เพื่อให้เอาเป็นแบบอย่าง 2. เพื่อจะได้มีมรดกตกสู่ลูกหลาน
3.เพื่อเสนอแนวทางประกอบอาชีพ 4. เพื่อแสดงชีวิตของคนฐานะร่ำรวย
5. เพื่อแสดงชีวิตของคนฐานะปานกลาง
แบบที่ 8 ถามสาเหตุและผลที่เกิด เป็นการถามถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุของเรื่องราวต้องการทราบว่า สิ่งนั้น เกิดจากอะไร หรือจะได้ผลอะไรออกมา
ตัวอย่าง
1. ถ้าส่งจดหมายทางไปรษณีย์โดยไม่ติดแสตมป์จะเป็นเช่นไร
1. ผู้ส่งถูกปรับ 2. ผู้รับถูกปรับ 3. จดหมายถูกส่งคืน
4. จดหมายจะไม่ถึงผู้รับ 5. ไปรษณีย์จะไม่ส่งจดหมายให้
2. จากเรื่อง “ทะเลบ้า” อะไรเป็นสาเหตุให้จิตใจหวั่นไหวมากที่สุด
1. ความรัก 2. ความดีใจ 3. ความโกรธ
4. ความเสียใจ 5. ความเสียดาย
แบบที่ 9 ถามประโยชน์และโทษ เป็นการถามคุณค่าของการกระทำเหตุการณ์ต่างๆ และสิ่งต่างๆ ทั้งในด้านดีและเลว
ตัวอย่าง
1. จากเรื่อง “ความสามัคคี” ข้อใดเป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของความสามัคคี
1. พาชาติพ้นภัย 2. ทำงานได้สำได้สำเร็จ 3. ทำให้มีความสุข 4. ซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน 5. ทำให้เกิดความเจริญและความสุข
2. การลงชื่อผู้ส่งบนซองจดหมายให้ประโยชน์ในเรื่องใด
1. สะดวกในการส่ง 2. ช่วยให้ทราบชื่อผู้รับ 3. สะดวกในการตอบรับ
4.ส่งคืนจดหมายได้ถูกต้อง 5. ป้องกันจดหมายสูญหาย
แบบที่ 10 ถามสิทธิหน้าที่ เป็นการถามถึงอำนาจหน้าที่ ที่ต้องกระทำซึ่งมีความสำคัญมาก เช่น ในวิชาหลักภาไทยหรือ ฉันทลักษณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง
1. “สมชายเขียนหนังสือ” เขียน ทำหน้าที่ใดในประโยคนี้
1. ประธาน 2. กริยา 3. กรรม 4.ขยายกริยา 5. ขยายกรรม
2.คำชนิดใดมีหน้าที่เชื่อมประโยค 2 ประโยคให้รวมกัน
1. คำวิเศษณ์ 2. คำสันธาน 3. คำอุทาน 4.คำบุพบท 5.คำสรรพนาม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น