วิเคราะห์ความสำคัญ
4.1 วิเคราะห์ความสำคัญ เป็นการค้นหาคุณลักษณะที่เด่นชัดของเองราวในแง่มุมต่างๆ
จนสามารถมองเห็นว่าส่วนใดสำคัญ ส่วนใดไม่สำคัญ ส่วนใดเป็นสาเหตุ
หรือผลลัพธ์เรื่องนั้น การวิเคราะห์ความสำคัญ แบ่งรูปแบบของการเขียนคำถามเป็น 3
แบบแบบที่ 1 ถามให้วิเคราะห์
เป็นความสามารถขั้นต้นของการวิเคราะห์เพื่อดูว่าสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นจัดอยู่ในประเภทใด
คำถามจะต้องไม่ใช่ให้นักเรียนชี้บอกชนิดหรือประเภทของสิ่งต่างๆ
โดยตรงตามหลักวิชาที่สอนไว้ แต่จะต้องให้บอกชนิดของเรื่องนั้นในแง่มุมใหม่
โดยให้จัดประเภทตามกฎเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดขึ้นตัวอย่าง
1. “ฉันไม่น่าทำตกเลย ตั้งใจทำมาหลายวัน” คำพูดนี้มีลักษณะใด
1.
โกรธ
2. ดีใจ
3. เสียใจ 4. ตกใจ
5. เสียตาย
2. “เขาคงหิวน้ำมาก จึงกินเสียหมดแก้ว” ข้อความนี้บกพร่องในเรื่องใด
1.
ใช้คำผิด
2. ความหมายผิด
3. ไวยากรณ์ผิด
4. เปรียบเทียบ
5. สำนวนไม่ดี
แบบที่ 2 ถามให้วิเคราะห์สิ่งสำคัญ เป็นการให้พิจารณาว่าเหตุการณ์นั้นหรือเรื่องราว
มีความเด่นด้อยสุดในด้านใด เช่น ให้ค้นหาใจความสำคัญของเรื่องราวต่างๆ
หรืออาจถามคุณลักษณะที่มีความสำคัญมากที่สุด
หรือสำคัญน้อยที่สุดของเรื่องนั้นหรืออาจถามให้ค้นหาจุดมุ่งหมายและผลลัพธ์ที่สำคัญของเรื่องราว
เหตุการณ์และการกระทำต่างๆ สิ่งที่นำมาถามได้แก่ จุดมุ่งหมายหลักของเรื่อง
หรืออาจจะให้วินิจฉัยเจตนาสำคัญของตัวละคร และบุคคลในบทประพันธ์ต่างๆตัวอย่างอ่านกลอนนี้แล้วตอบคำถาม
ข้อ 1 และ 2“เป็นมนุษย์สุตนิยมที่ลมปากจะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้พูดดีมีคนเขาเมตตาจะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ แม้พูดดีมีคนเขาเมตตาจะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
1.
กลอนนี้ถือว่าสิ่งใดสำคัญที่สุด
1.
อาหาร
2. วาจา
3. มนุษย์
4. ความดี
5. ความเมตตา
2. กลอนนี้ยึดคติใด
1. ปากพาจน
2. ปากร้ายใจดี
3. น้ำนิ่งไหลลึก
4.
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
5. ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
แบบที่ 3 ถามให้วิเคราะห์เลศนัย โดยการยกเอาการกระทำหรือเหตุการณ์ต่างๆ มาเป็นต้นเรื่อง แล้วยกเอาเฉพาะถ้อยคำที่แยบยล หรือพฤติกรรมที่น่าสงสัยมาให้วิเคราะห์ค้นหาเจตนา และความคิดที่แอบแฝงอยู่ตัวอย่าง
1.
คำพูดในข้อใดที่ผู้พูดมีแนวโน้มจะปฏิเสธ
1. คุณทำดีมาก
2. ขอรับไว้พิจารณา
3. แค่นี้ก็พอใจแล้ว
4. คุณทำงานนี้หลายวันไหม
5. ตรงตามที่ผมอยากได้พอดี
1. คุณทำดีมาก
2. ขอรับไว้พิจารณา
3. แค่นี้ก็พอใจแล้ว
4. คุณทำงานนี้หลายวันไหม
5. ตรงตามที่ผมอยากได้พอดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น