ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการ
1.2 ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการ เป็นการถามเกี่ยวกับวิธีประพฤติปฏิบัติในวิธีดำเนินการของเรื่องราวทั้งปวง แบ่งออกเป็น
1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน เป็นความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่นิยมปฏิบัติ รวมทั้งแบบแผนแบบฟอร์มต่างๆ มีรูปแบบในการเขียนคำถาม 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 ถามแบบแผนแบบฟอร์ม เป็นการถามแบบแผนแบบฟอร์มที่ต้องปฏิบัติ เช่น แบบแผนของการอ่านร้อยแก้วร้อยกรอง
ตัวอย่าง
1. คำประพันธ์ประเภทสดุดี และยอพระเกียรติ นิยมแต่งด้วยร้องกรองชนิดใด
1. โคลง 2. ฉันท์ 3. กาพย์ 4. กลอน6 5. กลอน8
2. ถ้าจะส่งจดหมายถึงลุงชาลี ควรจ่าหน้าซองอย่างไร
1.ส่งคุณลุง 2. ส่งคุณชาลี 3. ส่งคุณลุงชาลี 4. ส่งท่านชาลี 5. ส่งท่านลุงชาลี
3. ในบัตรเชิญงานเลี้ยงฉลองสมรสควรแจ้งสิ่งใด
1. วัน เวลา 2. จำนวนแขก 3. จำนวนอาหาร 4.รายนามที่เชิญ 5. เวลากล่าวคำปราศรัย
แบบที่ 2 ถามธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เป็นการถามแบบอย่างของการกระทำที่สังคมยอมรับและนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม
ตัวอย่าง
1. ข้อใดเป็นมารยาทในการฟัง
1.ตั้งใจฟัง 2. นั่งข้างหน้า 3. นั่งตามสบาย
4. พูดคุยกับคนใกล้เคียง 5.มีงานมาทำขณะว่างๆ
2. ในพิธีศพ การแสดงโขน นิยมนำวรรณคดีเรื่องใดมาแสดง
1. สังข์ทอง 2. สามก๊ก 3.รามเกียรติ 4.พระอภัยมณี 5.ขุนช้างขุนแผน
1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม เป็นการถามวิธีปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนและวิธีหาแนวโน้นของเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ
แบบที่ 1 ถามลำดับขั้น เป็นการถามขั้นตอนในการปฏิบัติโดยให้เรียงลำดับขั้นตอนของเวลา ก่อน หลัง ครั้งแรก เริ่มต้น ลำดับที่
ตัวอย่าง
1. ต่อไปนี้เหตุการณ์ใดเกิดลำดับสุดท้าย
1.รจนาเลือกคู่ 2. สังข์ทองตีคลี 3. สังข์ทองถูกถ่วงน้ำ
4. สังข์ทองถอดรูปเงา 5. สังข์ทองหาเนื้อหาปลา
2. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา เลียงตามลำดับ
1.ฉันรักเธอมาก 2. เราไม่มีหนังสือ 3. เธอบอกว่ารักฉัน 4.มาใหม่ไม่ได้หรือ 5. มาก่อนฉันจริงหรือ
แบบที่ 2 ถามแนวโน้ม เป็นการถามแนวโน้มของเรื่องรางต่างๆโดยที่เรื่องเคยเกิดในทำนองนั้นมาแล้ว
ตัวอย่าง
1.พระเอกในวรรณคดีไทยมักจะเป็นคนเช่นไร
1. รบเก่ง แต่เจ้าชู้ 2. เจ้าชู้ แต่อ่อนแอ 3.นิสัยดี แต่ไม่ฉลาด
4.นิสัยดี แต่รบไม่เก่ง 5. เห็นแก่ตัว แต่ฉลาด
1.2.3 ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการจัดประเภท เป็นการให้ผู้เรียนจัดรายการเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ หรือ สิ่งของว่ามีลักษณะสำคัญแตกต่างจากพวกอื่นตรงไหน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ
แบบที่ 1 ถามชนิด ประเภท เป็นการถามชนิดประเภทของสิ่งของต่างๆและเรื่องราวต่างๆว่าแต่ละสิ่งเหล่านั้น จัดอยู่ในหมวดหมู่ใด มีชนิดอะไรบ้าง
ตัวอย่าง
1. “น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า” จัดเป็นประเภทใด
1. กลอน 2. สำนวน 3. สุภาษิต 4. คำพังเพย 5. คำอุปมอุปมัย
2. วรรณคดีเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
1. โคลง 2. กาพย์ 3. ฉันท์ 4. กลอน6 5. กลอน 8
แบบที่ 2 ถามเข้าพวก เป็นการถามโดยบอกชื่อชนิดของสิ่งที่ถามแต่จะใช้ตัวอย่างเป็นสมาชิกย่อยๆของสิ่งนั้นมาเป็นตัวคำถามและคำตอบ
ตัวอย่าง
1. บทประพันธ์เรื่อง “พระอภัยมณี” มีลักษณะคล้ายกับเรื่องใด
1. อิเหนา 2. สามก๊ก 3. สังข์ทอง 4.รามเกียรติ์ 5.ลิลิตพระลอ
2. ข้อใดเป็นคำพวกเดียวกับคำว่า “สร้าง”
1. ปลุก 2. ปรุง 3.ทรุต 4. จรัส 5. จริง
แบบที่ 3 ถามต่างหาก เป็นการถามกลับกับคำถามแบบต่างพวก โดยถามว่า สิ่งใดไม่จัดเป็นประเภทนั้น หรือเรื่องราวใดต่างจากพวก
ตัวอย่าง
1.บทประพันธ์ใดไม่ใช่ผลงานของสุนทรภู่
1. นิราศพระบาท 2. นิราศสุพรรณ 3. นิราศภูเขาทอง 4. นิราศเมืองแกลง 5. นิราศนครปฐม
2. ข้อใดเป็นคำต่างพวกกับคำว่า “ขวา”
1. จริง 2. ขวิด 3. ทราย 4. สร้าง 5.หย่อม
1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ เป็นความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ที่จะมาตัดสินเรื่องราวนั้นๆความจำเกี่ยวเกณฑ์เป็นการจำว่าเกณฑ์ในการตัดสินมีอะไรบ้าง
แบบที่ 1 ถามเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของสิ่งนั้น เป็นการถามถึงคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของสิ่งของหรือเรื่องราวต่างๆที่ไม่เหมือนใคร
ตัวอย่าง
1. จดหมายราชการมีลักษณะเฉพาะอย่างไร
1. มีตราครุฑ 2. มีตราราชสีห์ 3. ใช้ซองสีขาว
4.ใช้กระดาษสีขาว 5.ข้อความเป็นอักษรพิมพ์
แบบที่ 2 ถามให้วิจารณ์เกณฑ์ เป็นการถามว่าในการพิจารณาตัดสินเรื่องใดๆควรใช้เกณฑ์ใดไปพิจารณาจึงจะเหมาะสมอาจจะถามให้เปรียบเทียบว่า กลอนบทแรกดีกว่าบทหลังในแง่ใด
ตัวอย่าง
1. กลอนสุภาพและกลอนสักวา มีความแตกต่างกันในลักษณะใดเด่นชัดที่สุด
1. คำนำ 2. สัมผัส 3.เนื้อหา 4.เสียงวรรณยุกต์ 5.จำนวนคำในวรรค
1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ต้องการให้นักเรียนสามารถบอกเทคนิคหรือวิธีปฏิบัติในการศึกษาวิชาภาษาไทย ต้องการวัดว่าสามารถจำวิธีปฏิบัติตามหลักวิชาและสามารถปฏิบัติตามที่สอนไว้ได้หรือไม่ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 ถามวิธี เป็นการถามความรู้ในขั้นเตรียมการยังไม่ได้ปฏิบัติจริง
ตัวอย่าง
1.การส่งจดหมายชนิดใดที่ทิ้งตู้ไปรษณีย์ไม่ได้
1. จดหมาย EMS 2. จดหมายเปิดผนึก 3. จดหมายราชการ
4.จดหมายส่งไปต่างจังหวัด 5. จดหมายส่งไปต่างประเทศ
แบบที่ 2 ถามการปฏิบัติ เป็นการถามการกระทำของเรื่องราวนั้นตามหลักวิชาว่า จะปฏิบัติอย่างไร
ตัวอย่าง
1.การเขียนเรียงความควรปฏิบัติอย่างไร
1. ควรอ้างทฤษฎี 2.ควรอ้างอิงทางวิชาการ 3. ควรอิงความจริงให้มากที่สุด
4. ควนกำหนดกรอบเรื่องก่อน 5. ควรกำหนดความยาวของเรื่อง
แบบที่ 3 ถามเปรียบเทียบ เป็นการถามเพื่อให้นักเรียนรู้จักเปรียบเทียบ วิธีการปฏิบัติว่า วิธีใดจะดีและเหมาะสมที่สุด
ตัวอย่าง
1. การส่งจดหมายโดยวิธีใดที่รวดเร็วที่สุด
1. ส่ง EMS 2. ไม่ปิดซองจดหมาย 3.ไปส่งที่ตู้ไปรษณีย์
4.ไปส่งที่กรมไปรษณีย์ 5.ไปส่งที่ไปรษณีย์ที่ใกล้กับปลายทางที่สุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น