การตีความ

การตีความ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจความหมายส่วนประกอบในข้อความนั้น  แล้วนำมาจัดระเบียบใหม่ในการตีความนั้นจะต้องกล่าวพาดพิงถึงเรื่องราวต่างๆ มากกว่า 1 เรื่อง  โดยการเอาผลที่ได้จากการแปลหลายๆ อย่างมาสรุปเป็นข้อสรุปใหม่ที่มีลักษณะต่างไปจากการแปลผลย่อยนั้น  ในการเขียนคำถามแบบตีความนั้นสิ่งที่นำมาถาม ได้แก่ ข้อความ  ภาพ  การกระทำ  หรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยการแปลความหมายในหลายๆแง่แล้วนำมาสรุปเป็นใจความเดียว ในการเขียนคำถามแบบตีความนั้นเขียนได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ตีความหมายของเรื่อง  เป็นคำถามที่ให้นักเรียนสรุปความหมายของเรื่องราวทั้งหมดในแง่ใหม่ว่าข้อความที่ให้อ่าน  กลอนทั้งบท  หรือภาพทั้งหมด  มีลักษณะทั่วไปอย่างไร  มีความหมายอย่างไร
ตัวอย่าง
อ่านบทประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1 ถึง 2
       อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
    ยังดีกว่าเพื่อนร้อยคอยอิจฉา
    มีเกลือก้อนหนึ่งน้อยด้อยราคา
    ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล
      1.กลอนนี้มีความหมายเกี่ยวกับอะไร
          1.เกลือ
          2.ความดี
          3.เพื่อนแท้
          4.ความอิจฉา
          5.การขาดแคลน
       2.คำประพันธ์นี้ให้คติอย่างไร
          1.การผูกมิตร
          2.การเลือกคบเพื่อน
          3.การรู้คุณและโทษ
          4.ความจริงใจต่อเพื่อน
          5.ความเกี่ยวพันของสิ่งต่างๆ
    แบบที่ 2 ตีความหมายของข้อเท็จจริง เป็นการถามเพื่อให้ตีความจากสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ เช่น เรื่องในวรรณคดี โดยการอ่านข้อความที่ให้ตีความ จนจับใจความสำคัญของเรื่องได้  แล้วนำเอาจุดที่สำคัญของเรื่องมาพิจารณาว่าสามารถตีความหมายเป็นนัยอื่นๆ ได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่าง
อ่านคำประพันธ์นี้แล้วตอบคำถามข้อ 1 และ 2
            แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์   มันแสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด
       ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด        ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
       1.คำกล่าวใดมีความหมายสอดคล้องกับกลอนนี้
           1.คนดีมีน้อย
           2.คนชั่วใจคด
           3.คบคนให้ดูหน้า
           4.หน้าเนื้อใจเสือ
           5.จิตมนุษย์นี้ไซร้ยากแท้หยั่งถึง
       2.คำกล่าวใดมีความหมายขัดแย้งกับกลอนนี้
           1.มนุษย์สุดดีอยู่ที่ปาก
           2.คบคนให้ดูหน้าคบผ้าให้ดูเนื้อ
           3.จิตมนุษย์นี้ไซร้ยากแท้หยั่งถึง
           4.สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

           5.จะชั่วบ้างเลวบ้างก็ช่างเขา จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเขียนข้อสอบวัดด้านการนำไปใช้ (Application)

การเขียนข้อสอบด้านการสังเคราะห์ (Synthesis)

การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน